เรื่อง การ Backup ข้อมูลเวชระเบียนที่จัดเก็บในรูปแบบ Electronic files ดังนี้
- Details
- Category: ICT rules
- Published on Monday, 08 August 2016 09:02
- Written by Super User
- Hits: 9327
เลขที่ WI-IMT-027
วันที่ปรับปรุง 08/08/2558
เรื่อง การ Backup ข้อมูลเวชระเบียนที่จัดเก็บในรูปแบบ Electronic files ดังนี้
ผู้รับผิดชอบ : กรรมการสารสนเทศ,ศูนย์คอมพิวเตอร์
วิธีปฏิบัติ
การ Backup ข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบ Electronic files ให้ปฏิบัติดังนี้
- จัดเก็บข้อมูลใน Server หลัก จัดทำเป็น RAID-5 โดยมี Hard disk สำหรับบันทึกข้อมูลที่เหมือนกันจำนวน 5 ลูก
- จัดเก็บข้อมูลใน Server รอง ตัวที่ 1 จัดทำเป็น RAIDS-5 โดยมี Hard disk สำหรับบันทึกข้อมูลที่เหมือนกันจำนวน 5 ลูก
- จัดเก็บข้อมูลใน Server รอง ตัวที่ 2 โดยใช้การทำ Auto Back up แบบ Full วันละ 1 ครั้งเวลา 00.00 น. และมีการทดสอบข้อมูลสำรองเดือนละ 1 ครั้งโดยการนำข้อมูลไปใช้ในการออกหน่วยให้บริการผู้ป่วยที่ รพ.สต.
- จัดเก็บข้อมูลสำรองเก็บไว้ในเครื่อง Personal computer ที่เป็นเครื่องลูกข่าย โดยใช้การทำ replication ข้อมูลจากเครื่อง Server หลักแบบ real time
- การ Copy ข้อมูล Back up เก็บไว้ใน Hard disk External
- การจัดพิมพ์เอกสารรายงานการใช้บริการของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเพื่อเก็บเป็นหลักฐานการเข้ารับบริการทุกวัน
เรื่อง การรักษาความปลอดภัย /ป้องกันการสูญหายของแฟ้มเวชระเบียนที่จัดเก็บในรูปแบบ Electronic file
- Details
- Category: ICT rules
- Published on Monday, 08 August 2016 09:02
- Written by Super User
- Hits: 9818
เลขที่ WI-IMT-026
วันที่ปรับปรุง 08/08/2558
เรื่อง การรักษาความปลอดภัย /ป้องกันการสูญหายของแฟ้มเวชระเบียนที่จัดเก็บในรูปแบบ Electronic file
ผู้รับผิดชอบ : กรรมการสารสนเทศ,เจ้าหน้าที่ทุกคน
วิธีปฏิบัติ
โรงพยาบาลฟากท่าใช้โปรแกรม HOSxP ในการจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนและการเข้ารับบริการของผู้ป่วยไว้ในคอมพิวเตอร์ โดยมีระเบียบปฏิบัติดังนี้
- กำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลต่างๆในคอมพิวเตอร์ มีรหัส username และ password เพื่อการเข้าถึงงานในแต่ละประเภท โดยรหัสที่กำหนดให้จะเข้าถึง(Access_menu) และใช้งานได้ เฉพาะงานในหน้าที่ของตนเองเท่านั้นไม่สามารถใช้งานในด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องได้
- เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทุกคนได้รับการอบรม ในเรื่องการรักษาข้อมูลผู้ป่วย จรรยาบรรณในการไม่เปิดเผยข้อมูล ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบการขอประวัติการรักษาเวชระเบียนผู้ป่วย
- กำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ใช้งาน HOSxP ต้อง Log out ออกจากโปรแกรมทุกครั้งหากไม่ได้ปฏิบัติงานอยู่ที่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และตั้งเวลาให้โปรแกรม Logout อัตโนมัติกรณีทีไม่มีใช้งานเป็นเวลานานเกิน 5 นาที
- กำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ใช้งาน HOSxPต้องเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ทุก 6เดือน และตั้งค่าโปรแกรมให้มีการแจ้งเตือนและลบค่า password เดิมอัตโนมัติหากไม่มีการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ภายในเวลาที่กำหนด
- กำหนดให้โปรแกรมสามารถตรวจสอบเหตุผิดพลาดของงานและสืบสวนย้อนกลับได้ว่ามีการเข้าถึง การบันทึกหรือแก้ไข ข้อมูลของผู้ป่วยที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ โดยรหัสผู้ใช้ของใคร มีการดำเนินการเมื่อไหร่
- กำหนดให้โปรแกรมสามารถป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและการนำข้อมูลในคอมพิวเตอร์ไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น จำกัดสิทธิการ print รายงานข้อมูลประวัติผู้ป่วย,กำหนดเครื่องพิมพ์ใบเสร็จ เป็นต้น
- กำหนดให้มีการติดตั้งโปรแกรมเพื่อป้องกันและปกป้องข้อมูลจากไวรัส มัลแวร์ โทรจัน หนอนคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบให้มีการ update อัตโนมัติ
- กำหนดให้มีการปิดระบบเพื่อป้องกันการใช้อุปกรณ์พกพา เช่น Hard disk External, USB Flash drive
- สำรวจสายไฟในหน่วยงานไม่ให้ชำรุดสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันอัคคีภัย
- มีการจำลองเหตุการณ์ ร่วมซ้อมแผนภาวะฉุกเฉินของโรงพยาบาลและเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และมีเหตุจำเป็นต้องขนย้ายเครื่อง Server
- จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิง และมีการตรวจสอบให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายทางกายภาพที่อาจเกิดขึ้นของเวชระเบียน
- ห้องจัดเก็บ Server ปรับปรุงมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงพยาบาล โดยจัดเก็บ Server ไว้ในตู้ Rack สำหรับขนย้าย ภายในห้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 2 ตัว เพื่อสลับการทำงานทุก 6 ชั่วโมง และล็อคห้อง server เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
- กำหนดสิทธิรหัสผู้ใช้ username และ password สำหรับการใช้งาน server และการเข้าถึง database ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วย
เรื่อง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
- Details
- Category: ICT rules
- Published on Monday, 08 August 2016 09:01
- Written by Super User
- Hits: 9569
เลขที่ WI-IMT-025
วันที่ปรับปรุง 08/08/2558
เรื่อง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ผู้รับผิดชอบ : กรรมการสารสนเทศ,เจ้าหน้าที่ทุกคน
วิธีปฏิบัติ
การดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
- การรักษาความปลอดภัย และป้องกันการสูญหายของแฟ้มเวชระเบียนมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
- จัดสถานที่ให้เหมาะสำหรับจัดการเก็บรักษา โดยมีชั้นสำหรับใส่แฟ้มประวัติผู้ป่วยนอกและแฟ้มผู้ป่วยในและเน้นให้เก็บอย่างระมัดระวัง เพื่อลดความเสียหายทางกายภาพ มีช่องที่มีขนาดเหมาะสม หยิบใช้สะดวก ลดการเกิดการชำรุดของเวชระเบียน
- สำรวจสายไฟในหน่วยงานไม่ให้ชำรุดสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันอัคคีภัย
- มีการจำลองเหตุการณ์ ร่วมซ้อมแผนภาวะฉุกเฉินของโรงพยาบาลและเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
- จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิง และมีการตรวจสอบให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายทางกายภาพที่อาจเกิดขึ้นของเวชระเบียน
- การสำรวจปลวกและกำจัดปลวกในหน่วยงาน และมีระบบการจัดการขยะที่เหมาะสมในหน่วยงาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง
- สถานที่จัดเก็บแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยทุกประเภทห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
- การขอประวัติผู้ป่วยเพื่อไปใช้ภายนอกโรงพยาบาล ต้องทำบันทึกการขอข้อมูลตามแบบฟอร์มไว้เป็นหลักฐาน เพื่อขออนุญาตกับผู้บังคับบัญชา และพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยให้เฉพาะสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
- เจ้าหน้าที่ของแผนกเวชระเบียนทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในได้ โดยทุกคนจะได้รับการอบรมในเรื่องการรักษาข้อมูลผู้ป่วย จรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่เวชระเบียน ในการไม่เปิดเผยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์หรือการขอเข้าดู
- มีการจัดเวรปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยเวรเช้าวันเสาร์-อาทิตย์จัดเวรละ 2 คน เวรบ่าย-ดึก เวรละ 1 คน และจัดเจ้าหน้าที่เสริมในวันที่มีผู้รับบริการมาเป็นพิเศษ เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการ
- ห้องตรวจจะต้องส่งแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย คืนหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจในแต่ละวันหรือภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่ Admit ให้ ward ส่งคืน OPD Card ภายหลัง Discharge ผู้ป่วย
- แฟ้ม IPD ภายใน 15 วัน หลังจากผู้ป่วย Discharge เจ้าหน้าที่ผู้คืนจะต้องลงบันทึกการคืนในใบรายงานยอดผู้ป่วยนอกหรือสมุดส่งคืนแฟ้มผู้ป่วยใน ส่วนเจ้าหน้าที่เวชระเบียนมีหน้าที่รับคืนโดย manual และบันทึกใน Computer
- การใช้ระบบสารสนเทศในการควบคุมเวชระเบียนโดยออกแบบโปรแกรมสามารถบันทึกการส่งเวชระเบียนผู้ป่วยไปแผนกต่างๆ และสามารถตรวจสอบกลับได้ เมื่อพบว่าประวัติผู้ป่วยที่ค้นหาไม่พบถูกส่งไปจุดบริการใดเป็นจุดสุดท้ายที่ใช้บริการ
- การประชุมชี้แจงนโยบายด้านเวชระเบียนให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทราบ
- กรรมการสารสนเทศกำหนดผู้มีสิทธิและระดับความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลในแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย ดังนี้
ผู้มีสิทธิ
- เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเวชระเบียนทุกคน
- แพทย์/พยาบาล ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย
- ผู้ทำงานวิจัย หรือนักศึกษาหลักสูตรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าฝึกอบรมที่โรงพยาบาลฟากท่า
- ศาล ,บริษัทประกันชีวิต,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงาประกันสังคม,บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ,กรมบัญชีกลาง ต้องทำหนังสือขอเข้าดูข้อมูล หรือมีหมายศาลโดยผ่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและระดับความสามารถเข้าถึงข้อมูล
- ข้อมูลทางการแพทย์กำหนดให้แพทย์หรือผู้ที่รับมอบหมายเท่านั้นที่จะเป็นผู้เข้าถึง
- ข้อมูลทางการพยาบาล กำหนดให้แพทย์/พยาบาลเท่านั้นที่จะเป็นผู้เข้าถึง
- ข้อมูลทางเวชระเบียนผู้เกี่ยวข้องมีสิทธิ์สามารถเข้าถึงได้แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้
เรื่อง การรักษาความลับของผู้ที่เข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย
- Details
- Category: ICT rules
- Published on Monday, 08 August 2016 09:00
- Written by Super User
- Hits: 10198
เลขที่ WI-IMT-024
วันที่ปรับปรุง 08/08/2558
เรื่อง การรักษาความลับของผู้ที่เข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย
ผู้รับผิดชอบ : กรรมการสารสนเทศ,เจ้าหน้าที่ทุกคน
วิธีปฏิบัติ
ก. การรักษาความลับของผู้ที่เข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย
- การบันทึกข้อมูลประวัติและการเข้ารับบริการของผู้ป่วย
- ไม่บันทึกข้อมูลที่ไม่เป็นจริง (untrue information)
- ไม่ควรบันทึกข้อมูลที่เป็นจริงแต่เป็นข้อมูลที่ไม่สมควรบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
- ก่อนการบันทึกข้อมูลใดๆ ลงในแฟ้มประวัติเวชระเบียนของผู้ป่วย หรือในคอมพิวเตอร์ต้องพิจารณาเนื้อหาที่จะบันทึกให้รอบคอบ
- การนำข้อมูลของผู้ป่วยหรือตัวผู้ป่วยไปเผยแพร่ให้ความรู้ จัดทำราย ตีพิมพ์เอกสารทางวิชาการต่างๆ
- ให้เก็บเอกสารหรือรายงานเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ป่วยไว้เป็นความลับ เมื่อนำไปใช้ในการสอนหรือใช้ประกอบในการเขียนรายงานต่าง ๆ
- การเปิดเผยข้อมูลจะต้องได้รับหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ที่แสดงถึงความยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล
- การเขียนรายงานผู้ป่วยเพื่อตีพิมพ์โดยทั่วไปแล้วไม่ควรใส่ ชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการตีพิมพ์ หรือแสดงรูปผู้ป่วยที่เห็นใบหน้าชัดเจน ถ้าจำเป็นต้องปิดส่วนหนึ่งของใบหน้า
- การนำผู้ป่วยไปแสดงหรือปรากฏตัวต่อสาธารณชนเพื่อเป็นตัวอย่างในการให้ความรู้แก่ประชาชน ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยก่อน
- การนำเรื่องราวของผู้ป่วยไปเปิดเผยต่อสื่อมวลชน ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง
- การนำเรื่องผู้ป่วยเข้าประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลอื่น ที่อยู่นอกวิชาชีพทางการแพทย์ ไม่ควรเปิดเผยชื่อ- นามสกุลผู้ป่วย
- ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนหรือผู้ไม่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลทางโทรศัพท์โดยเด็ดขาด
- กรณีเป็นบุคลากรที่มีหน้าที่ในการให้ข้อมูลหรือตอบคำถามเกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น ประชาสัมพันธ์ ควรจะต้องระมัดระวัง และตรวจสอบผู้ที่ถามนั้นว่า เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยอย่างไรก่อน ให้ข้อมูลตามความจำเป็นและตามขอบเขตที่ได้รับอนุญาตให้เปิดข้อมูลผู้ป่วยได้
ข. การอนุญาตให้เปิดข้อมูลผู้ป่วย โรงพยาบาลกำหนดให้บุคลากรต่อไปนี้มีสิทธิอนุญาตให้เปิดข้อมูลผู้ป่วย
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ,ประธานองค์กรแพทย์ ,แพทย์เจ้าของไข้
- หัวหน้างานเวชระเบียน
- วิธีปฏิบัติเมื่อมีการละเมิด
- ผู้พบเหตุการณ์รายงานหัวหน้าหน่วยงานทราบเพื่อประเมินและบันทึกความเสี่ยง หัวหน้าหน่วยงานรายงานผู้จัดการความเสี่ยง/หัวหน้างานเวชระเบียน ทราบเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ทันท่วงที
- คณะกรรมการสารสนเทศทบทวนความเสี่ยงทำ RCA( Root Cause Analysis)หาสาเหตุของปัญหาและประสานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
- คณะกรรมการสารสนเทศพิจารณาแนวทางแก้ไข ออกระเบียบปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุละเมิดเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซ้อน
เรื่อง การปฏิบัติกรณีเกิดอัคคีภัย
- Details
- Category: ICT rules
- Published on Monday, 08 August 2016 08:59
- Written by Super User
- Hits: 9562
เลขที่ WI-IMT-023
วันที่ปรับปรุง 08/08/2558
เรื่อง การปฏิบัติกรณีเกิดอัคคีภัย
ผู้รับผิดชอบ : กรรมการสารสนเทศ,ศูนย์คอมพิวเตอร์,
วิธีปฏิบัติ
1. กรณีเกิดอัคคีภัย
- ขนย้ายอุปกรณ์ในห้อง Server ดังนี้
- ตู้ Server (วิธีขนย้ายตู้ Server)
- ขนย้ายอุปกรณ์ในห้องคอมพิวเตอร์ดังนี้
- Computer PC ที่ติดสติกเกอร์สีแดง
- Switch HUB
- Computer Notebook
- เครื่องสำรองไฟฟ้า
- เมื่อสามารถควบคุมอัคคีภัยได้แล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อยของระบบเครือข่าย ,ระบบไฟฟ้า และติดตั้งอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน
- ตรวจสอบความพร้อมใช้ของเครื่องลูกข่าย หากยังไม่พร้อมใช้งานให้ดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติกรณีไฟฟ้าดับ หรือ กรณีเครื่อง Server /Database มีปัญหา
หากเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่อยู่ เจ้าหน้าที่อื่นสามารถดำเนินการได้ดังนี้
- ให้เปิดประตู้ห้อง Server หรือพังประตูเพื่อเข้าไปในห้อง server (วิธีขนย้ายตู้ Server)
- ทำการตัดสาย LAN โดยใช้คีมตัดสาย LAN ออกให้หมด
- ทำการถอดสายไฟที่อยู่ภายนอกตู้ Server ออกให้หมด
- ทำการเคลื่อนย้ายตามแผนป้องกันอัคคีภัย
More Articles...
Subcategories
-
เรื่อง การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ
เลขที่ WI-IMT-001
วันที่ปรับปรุง 08/08/2558เรื่อง การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศผู้รับผิดชอบ : คณะกรรมการสารสนเทศ,คณะกรรมการทีมประสาน,หัวหน้าฝ่าย/งาน
วิธีปฏิบัติ- จัดให้มีการทำ และปรับปรุงนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- แสดงเจตนารมณ์ หรือสื่อสารให้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้เห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยขององค์กรโดยเคร่งครัด อย่างสม่ำเสมอ
- จัดให้มีการประชุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยกำหนด ให้มีวาระการประชุมที่ต้องหารือกันอย่างน้อยดังนี้
- การตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงฯ และผลการตรวจสอบ
- แผนการดำเนินการเชิงป้องกัน/แก้ไข จากผลการตรวจสอบดังกล่าว
- การปรับปรุงนโยบายความมั่นคงปลอดภัยสำหรับปีถัดไป
- การประเมินความเสี่ยงและแผนลดความเสี่ยง จัดให้มีทรัพยากรด้านบุคลากรงบประมาณ การบริหารจัดการ และวัตถุดิบที่เพียงพอต่อการจัดการดังกล่าว
- จัดให้มีการสร้างความตระหนักทางด้านความมั่นคงปลอดภัยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ขององค์กร มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถป้องกันตนเองได้ในเบื้องต้น อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีละ 1 ครั้ง และจัดให้มีการทำแผนเพื่อลดความเสี่ยง หรือปัญหาที่พบ
- จัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงปลอดภัย โดยผู้ตรวจสอบภายในด้านสารสนเทศ ปีละ 1 ครั้ง และจัดให้มีการทำแผนเพื่อปรับปรุง หรือแก้ไขปัญหาที่พบ
- จัดให้มีการแจ้งเวียนให้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้ระมัดระวัง และดูแลทรัพย์สินขององค์กรที่ตนเองใช้งาน เพื่อป้องกันการสูญหาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- กำหนดนโยบายการใช้งานระบบเครือข่ายอย่างชัดเจนว่า บริการใดที่อนุญาตให้ใช้งาน และบริการใดไม่อนุญาตให้ใช้งาน เช่น การใช้งาน MSN ดูหนังฟังเพลงผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น รวมทั้งปรับปรุงนโยบายตามความจำเป็น นโยบายการใช้งานระบบเครือข่าย ขณะนี้ประกอบด้วย
- ห้ามเข้าเว็บไซต์ที่อยู่ในประเภทดังต่อไปนี้
- วิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์
- การพนัน
- ลามก อนาจาร
- อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม หรือผิดจริยธรรม
- งดเว้นการเล่นเกมส์ ดูภาพยนต์ หรือฟังเพลง ผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเวลาทำงาน